วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ปุ่มคีย์ลัดบน Windows และ Office


ปุ่มคีย์ลัดบน Windows


พิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน Windows ง่ายๆ ด้วยการจดจำ และเรียนรู้การใช้งาน 
Keyboard ผสมผสานกับการใช้งานเม้าส์ รับรองคุณจะทำงานได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น

  • BACKSPACE (ดูโฟลเดอร์ย้อนขึ้นหนึ่งระดับใน My Computer หรือ Windows Explorer)
  • ESC (ยกเลิกงานปัจจุบัน)
  • CTRL+C (คัดลอก)
  • CTRL+X (ตัด)
  • CTRL+V (วาง)
  • CTRL+Z (ยกเลิก)
  • DELETE (ลบ)
  • SHIFT+DELETE (ลบรายการที่เลือกอย่างถาวรโดยไม่เก็บไว้ใน Recycle Bin)
  • กดปุ่ม CTRL ขณะที่ลากรายการ (คัดลอกรายการที่เลือก)
  • กดปุ่ม CTRL+SHIFT ขณะที่ลากรายการ (สร้างทางลัดไปยังรายการที่เลือก)
  • ปุ่ม F2 (เปลี่ยนชื่อรายการที่เลือก)
  • CTRL+A (เลือกทั้งหมด)
  • ปุ่ม F3 (ค้นหาไฟล์หรือโฟลเดอร์)
  • ALT+ENTER (ดูคุณสมบัติต่างๆ ของรายการที่เลือก)
  • ALT+F4 (ปิดรายการที่ใช้งานอยู่ หรือปิดโปรแกรมที่ใช้งาน)
  • ALT+SPACEBAR (เปิดเมนูทางลัดสำหรับหน้าต่างที่ทำงานอยู่)
  • CTRL+F4 (ปิดเอกสารที่ใช้งานอยู่)
  • ALT+TAB (สลับระหว่างรายการต่างๆ ที่เปิดอยู่)
  • ปุ่ม F6 (สลับไปตามรายการอิลิเมนต์บนหน้าจอในหน้าต่างหรือบนเดสก์ทอป)
  • ปุ่ม F4 (แสดงรายการแอดเดรสบาร์ใน My Computer หรือ Windows Explorer)
  • SHIFT+F10 (แสดงเมนูทางลัดสำหรับรายการที่เลือก)
  • ALT+SPACEBAR (เปิดเมนูระบบสำหรับหน้าต่างที่ทำงานอยู่)
  • CTRL+ESC (แสดงเมนู Start)
  • ALT+อักษรขีดเส้นใต้ในชื่อเมนู (แสดงเมนูนั้นๆ)
  • อักษรที่ขีดเส้นใต้ในชื่อคำสั่งบนเมนูที่เปิด (ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ)
  • ปุ่ม F10 (เปิดแถบเมนูในโปรแกรมที่กำลังใช้งาน)
  • ปุ่ม F5 (อัปเดทหน้าต่าง)
  • กดปุ่ม SHIFT ขณะที่ใส่แผ่นซีดีรอมลงในไดรฟ์ซีดีรอม (ยกเลิกการเล่นซีดีรอมอัตโนมัติ)
  • CTRL+SHIFT+ESC (เปิด Widows Task Manager )

คีย์ลัดบน Microsoft Office

  • CTRL + A = Select All เลือกทั้งหมด 
  • CTRL + B = Bold ตัวหนา 
  • CTRL + C = Copy คัดลอก 
  • CTRL + D = Font format กำหนดรูปแบบอักษร 
  • CTRL + E = Center ตรงกลาง 
  • CTRL + F = Find ค้นหา 
  • CTRL + G = Goto ไปที่ 
  • CTRL + H = Replace แทนที่ 
  • CTRL + I = Italic ตัวเอียง 
  • CTRL + J = Justify จัดชิดขอบ 
  • CTRL + K = Insert Hyper Link แทรกการเชื่อมโยงหลายมิติ 
  • CTRL + L = Left จัดชิดซ้าย 
  • CTRL + M = Indent เพิ่มระยะเยื้อง 
  • CTRL + N = New สร้างแฟ้มใหม่ 
  • CTRL + O = Open เปิดแฟ้มใหม่ 
  • CTRL + P = Print พิมพ์ 
  • CTRL + R = Right จัดชิดขวา 
  • CTRL + S = Save จัดเก็บ (บันทึก) 
  • CTRL + T = Tab (ตั้งระยะแท็บ) 
  • CTRL + U = Underline ขีดเส้นใต้ 
  • CTRL + V = Paste วาง 
  • CTRL + W = Close ปิดแฟ้ม 
  • CTRL + X = Cut ตัด 
  • CTRL + Y = Redo or Repeat ทำซ้ำ 
  • CTRL + Z = Undo ยกเลิกการกระทำครั้งล่าสุด

ที่มา >>> http://www.tsdmag.com/forum/index.php?topic=1522.0


วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Tip And Trick การเพิ่มประสิทธิภาพให้เครื่องคอมพิวเตอร์

Smart Defrag V.2.01

Smart Defrag  (โปรแกรม ช่วยจัดเรียงข้อมูล ชั้นเยี่ยม ) : เป็นโปรแกรมตัวหนึ่งถือได้ว่าเป็นหนึ่งในโปรแกรมสำหรับช่วยทำการ Disk fragmentation หรือทำการจัดเรียงข้อมูลบนฮารด์ดิส ให้ข้อมูลเป็นระบบ ระเบียบ ที่ได้รับการยอมรับสูงตัวนึงเลยทีเดียว เคยมั้ย ที่คุณได้ใช้คอมพิวเตอร์ไปได้สักระยะหนึ่ง โดยที่ไม่ได้ทำการ ฟอแมต เครื่องก็เจอปัญหา เครื่องทำงานได้ช้าลง เป็นต้น ทั้งนี้ มันยังช่วยทำการปรับปรุงให้ฮาร์ดดิสคุณทำงานได้เร็วขึ้นอีกต่างหาก ลองไปใช้รับรองว่าจะรู้สึกถึงความเร็วที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน ...

Note : โปรแกรมนี้ ทางผู้พัฒนา โปรแกรม (Program Developer) เขาได้แจกให้ ทุกท่านได้นำไปใช้กันฟรี  FREE !!   โดยท่าน ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

ดูเพิ่มเติมได้ที่ >>> http://www.thaiware.com/main/info.php?id=10012

Tip And Trick การเพิ่มประสิทธิภาพให้เครื่องคอมพิวเตอร์

Tip and Trick การเพิ่มประสิทธิภาพของแรม

      สำหรับวิธีนี้ จะเป็นการแก้ไขค่าในรีจิสตรีอีกตัวหนึ่ง ที่จะช่วยทำให้ระบบโหลดเคอร์เนลใน Windows XP เอาไปเก็บไว้ในแรม และวิธีการนี้จะช่วยทำให้มีประสิทธิภาพของแรมเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก
      แต่ ! มีข้อจำกัดอยู่อย่างหนึ่ง คือ เครื่องที่สามารถใช้งานได้จะต้องมีแรมไม่ต่ำกว่า 256 เมกะไบต์ขึ้นไป จึงจะเห็นผล

ขั้นตอนการปรับแต่ง 

1. เปิดโปรแกรม Registry Editor ขึ้นมา โดยคลิกที่ Start > Run >พิมพ์ Regedit กด OK 
2. เข้าไปที่ HKEY_LOCAL_MACHINE > SYSTEM > CurrentControlSet > Control > SessionManager > Memory Management
3. ให้หาคีย์ดังต่อไปนี้ ที่หน้าต่างทางขวามือ
"DisablePagingExecutive"=dword:00000000
"LargeSystemCache"=dword:00000000
4. เมื่อพบแล้วให้แก้ไขค่าตัวเลย โดยเปลี่ยนเลข 0 ตัวสุดท้ายให้เป็นเลข 1 หรือหากไม่มี ให้สร้างคีย์ใหม่ โดยตั้งค่าดังนี้
"DisablePagingExecutive"=dword:00000001
"LargeSystemCache"=dword:00000001


5. รีสตาร์ทเครื่องใหม่ เพื่อให้ค่าที่เปลี่ยนแปลงเริ่มทำงาน
6. หากต้องการให้ค่าต่างๆที่ปรับแต่งไว้กลับเป็นเหมือนเดิม ให้เปลี่ยนจาก 1 ไปเป็น 
0




ดูเพิ่มเติมได้ที่ >>> http://computereasy.exteen.com/20090504/tip-trick



วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประวัติ และ วิวัฒนาการ ของ CPU


ประวัติ และ วิวัฒนาการ ของ CPU

     ไมโครโพรเซสเซอร์เกิดขึ้นช่วงทศวรรษ 1970โดยเกิดจากการนำเทคโนโลยี 2 อย่างมาร่วมกันพัฒนา คือ เทคโนโลยีด้านดิจิตอลคอมพิวเตอร์และ เทคโลยีด้านโซลิดเสเตตช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 คือดิจิตอลคอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาใช้ในด้านการทหารช่วงกลางค.ศ. 1940ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาใช้ในวิทยาศาสตร์ และธุรกิจ  ปี ค.ศ. 1948นักวิทยาศาสตร์ได้คิคค้นทรานซิสเตอร์ที่ทำมาจกากโซลิดสเตต



     ช่วง ค.ศ. 1950 เริ่มมีการผลิตดิจิตอลคอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานทั่วไปโดยใช้หลอด
สูญญากาศเป็นส่วนประกอบในการสร้างวงจรพื้นฐานเช่น เกต และฟลิปฟลอปเพื่อใช้เครื่องคำนวนและหน่วยความจำและอินพุตและเอาต์พุตของดิจิตอลคอมพิวเตอร์ และช่วงทศวรรษเดียวกันได้มีการทดลองโซลิดเสเตตอย่างจิงจังและได้ผลิตทรานซิสเตอร์ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำซิลิคอน และปลายทศวรรษที่ 1950 ได้นำทรานซิสเตอร์มาใช้แทนหลอดสูญญากาศ


     ช่วงต้นทศวรรษ1960 ได้มีการนำทรานซิสเตอร์หลายๆตัวมาบรรจุลงในซิลิคอนเพียงตัวเดียว โดยที่ทรานซิสเตอร์ แต่ละตัวจะถูกเชื่อมต่อกันด้วยโลหะขนาดเล็กเพื่อสร้างเป็นวงจรแบบต่างๆ เช่น
เกต


     ช่วงกลางทศวรรค 1960 ได้มีการผลิตไอซีพื้นฐานเป็นแบบ small และ medium scale integration(SSI และ MSI) ทำให้เทคโนโลยีถูกแรงผลักดัน 2 แนวทาง คือการพัฒนาทางด้านเทคนิคเพื่อลดต้นทุนการผลิต และอีกแนวทางหนึ่งก็คือการเพิ่มความซับซ้อนให้กับวงจร


     ต้นทศวรรษที่ 1970 ได้เริ่มนำเอาวงจรดิจิตอลมาสร้างรวมกันและบรรจุอยู่ไอซีตัวเดียวเรียกว่า large-scale integration(LSI) และในช่วงทศวรรษที่ 1980 ก็ได้มีการนำเอาทรานซิสเตอร์มากกว่า100,000ตัวมาใส่ในไอซีเพียงตัวเดียวซึ่งเรียกว่า very large-scale integration (VLSI)

วิวัฒนาการของซีพียู

     วิวัฒนาการของซีพียู     CPU จาก 8 บิต ถึง 64 บิต
การส่งข้อมูลนั้นจะสูงมาเป็น ชุดๆ  แต่ละชุดนั้นสามารถอ้างที่
อยู่(address) ได้กี่ตัว  ก็ใช้เลขบิต(Bit) ตัวนี้เป็นตัวกำหนดว่าสามารถอ้างที่อยู่ ได้มากน้อยเพียงใด  ยิ่งอ้างได้มากนั่นหมายถึงทำให้ส่งข้อมูลเข้าหรืออออกที่ซีพียูตามไปด้วย  ซึ่งไม่ว่าจะทำงานเป็น 8,16,32,64 บิตได้หรือไม่นั้นต้องขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการที่รองรับการทำงานด้วย



8086, 8088  ซีพียูสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ ตระกูลเครื่องพีซีหรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(PC) ตัวแรกเป็นผลผลิตของบริษัทอินเทล(Intel) ยักษ์ใหญ่มือวางอันดับหนึ่งของวงการซีพียูนั่นเอง






80286  ยุคเริ่มต้นซีพียูขนาด 16 
บิตเริ่มจากซีพียูตัวนี้





                                                                                                                                                                  
                                                    




                                                                         80386, 80486  เป็น CPU เบอร์แรก
                                                                         ที่ประมวลผลทีละ 32 บิต ทำให้
                                                                         สามารถจัดการ
                                                                         หน่วยความจำได้ดีกว่า 80286
 

 

Pentium  เนื่องจากเริ่มมีบริษัทอื่นๆ ผลิตซีพียู
สำหรับพีซีออกมาแข่งขันกับอินเทลจึงทำให้
CPU รุ่นถัดมาของ Intel ไม่ใช้ชื่อเรียก
เป็นหมายเลข ใช้เป็นชื่ออื่นแทน









Pentium MMX, AMD K6 3DNOW
, Cylix 6X86MX  คือ Pentium
ที่เพิ่มความสามารถในเชิงมัลติมิเดีย
(MMX สำหรับ Pentium, 3DNOW)









Intel Itanium  Intel ได้ตั้งชื่ออย่างเป็น
ทางการให้กับCPU 64 บิตของ
ตัวเองว่า  Itanuim





                จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่า   ในยุคเริ่มแรกซีพียู เป็นแบบหน่วยประมวลผลเดี่ยว (single-core) แล้วจึงพัฒนาเป็นหลายหน่วยประมวลผล(multi-core)  ซึ่งคาดว่าจะพัฒนาต่อไปอีกในอนาคตอาจจะมีชิปที่มีหน่วยประมวลมากมาย(many-core)  ดังกราฟข้างล่าง แสดงถึงการพัฒนาของCPU ควบคู่กับประสิทธิภาพและการใช้พลังงาน


ฟลิปฟลอป แล้วมีการสร้างวงจรจากเทคโนโลยีแบบใหม่เรียกว่า ไอซี

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Moore's Law กฏของมัวร์

Moore's Law กฏของมัวร์

     คือ การตั้งทฤษฏีของมัวร์ได้กล่าวไว้ว่าความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและความซับซ้อนของเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ทำให้สามารถผลิต ไอซีที่มี ความหนาแน่นได้เป็นสองเท่าทุก ๆ ช่วงระยะเวลาหนึ่ง เขาได้ทำการพล็อตกราฟแบบสเกลล็อกให้ดูจากอดีตและพบว่าเป็นเช่นนั้นจริง นอกจากนี้ความก้าวหน้าอื่น ๆ อีกหลายอย่างก็เป็นไปตามกฎของมัวร์ด้วยเช่นกัน
     การสร้างทรานซิสเตอร์มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง บริษัท แฟร์ซายด์ เซมิคอนดัคเตอร์เป็นบริษัทแรกที่เริ่มใช้เทคโนโลยีการผลิต ทรานซิสเตอร์แบบ planar หรือเจือสารเข้าทางแนวราบ เทคโนโลยีนี้เป็นต้นแบบของการสร้างไอซีในเวลาต่อมา จากหลักฐานที่กล่าวอ้างไว้พบว่า บริษัทแฟร์ซายด์ได้ผลิต
พลาน่าทรานซิสเตอร์ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2502 และบริษัทเท็กซัสอินสตรูเมนต์ได้ผลิตไอซีได้ในเวลาต่อมา และกอร์ดอนมัวร์ก็ได้กล่าวไว้ว่า จุดเริ่มต้นของกฎของมัวร์เริ่มต้นจากการเริ่มมีพลาน่าทรานซิสเตอร์




ความน่าสนใจของกฏมัวร์

>>> จำนวนของทรานซิสเตอร์ซึ่งบรรจุอยู่บนแผ่นวงจรรวม หรือ ไมโครชิพ นี้จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุกๆ 18 เดือน แล้วใน 10 ปีข้างหน้าคอมพิวเตอร์จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร